ตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศมาเยี่ยมเยือน

............ตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศเข้าเยี่ยมนักศึกษาไทยในเมืองยอคยาการ์ตา เพื่อสอบถามข้อมูลโดยพื้นฐาน และรับประทานอาหารไทยร่วมกัน ที่ร้านเต๋า หลังจากนั้นเข้าเที่ยวชมบุโรพุทโธ มรดกโลกและพุทธศาสนสถานที่สำคัญเริ่มกันด้วย การยิ้มรับอาหารว่าง (ว่างจิงๆ)

คนมีหน้าที่ตอบก็ตอบไป คนมีหน้าที่ถ่ายรูปก็ถ่ายไป เรามีหน้าที่มากินก็กินกันไป เอ้า!! หน้าที่ใครหน้าที่มัน

ชอบกันจี๊ง...... กับรูปหมู่ แต่ใครไม่ไ้ด้เข้ามาก็ถือว่าไม่ได้่ร่วมแก๊งนะเนี่ยะ++++

ขอพักแป๋บอย่ารีบ ตากล้องมาหลายรอบแล้ว ต่อมความตื้นเต้นเริ่มสึกหรอแหละ

++++มุมกว้างๆ ให้ได้รู้ว่าเรามาเพื่อการสิ่งใด++++


+++เก็บตกภาพสุดเซ็กซี่ของสาวอินโดกับตากล้องมืออาชีพมาฝาก+++งานนี้ อั้ม กับ ชมพู่ ยังต้องหลีกให้กับความพยายามของตัวเธอ+++

ยอกยาการ์ตา...เมืองการศึกษาและอารยธรรม

ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่า เมือง ยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย จะมีมนต์เสน่ห์ ไปแล้วกลับมาคิดถึงอยากไปอีก...

ไม่ ว่าจะเป็นวิถีชีวิตจน ถึงข้าวปลาอาหาร ก็กินอร่อยถูกปากถูกใจ ไม่ต้องพกพริกน้ำปลา หรือว่าน้ำพริกนรก-สวรรค์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสโน่นนี่ไปให้เมื่อย เพราะที่นี่เขามีน้ำพริกเจ้าถิ่นที่ชื่อว่า ซัมบาล (Sembal) คล้ายกับน้ำพริกเผาบ้านเราที่ขึ้นโต๊ะทุกมื้ออาหาร

ได้ไปชิมไก่ทอดเจ้าถิ่น ซูฮาตี (Suharti) หรือ Ayam (แปลว่าไก่) Goreg (แปลว่าทอด) ที่เขามีกรรมวิธีทอดไก่แบบพิเศษ (ราคาชุดละ 7 หมื่นรูเปียส เท่ากับ 240 บาท) ใช้ไก่บ้านรุ่น ๆ ต้มในน้ำมะพร้าวอ่อนจนท่วมไก่ ใส่หัวหอมและเครื่องเทศ แล้วเคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนน้ำมะพร้าวซึมเข้าไปในเนื้อไก่ จากนั้นนำไก่ไปผึ่งพอสะเด็ดน้ำ แล้วนำไปคลุกเคล้ากับแป้งสูตรลับเฉพาะ ทอดในกระทะขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำมันจนท่วม ทอดจนไก่สุกเหลืองกรอบ เนื้อแป้งที่เกาะมากับตัวไก่นั้นเนียนละเอียด รับประทานกับน้ำพริกซัมบาล แกล้มกับสะตอเผา และมีถั่วลิสงทอดเรียกกว่า เทมเป (Tempe) และเต้าหู้หวานเรียกว่า ตาฮู (Tahu) ส่วนซุปใสแบบอินโด มักมีส่วนผสมของผักหลาย ๆ อย่าง เช่น พริก ผักใบเขียว หัวหอม ถั่วฝักยาว ถั่วลิสง ฟักเขียว และข้าวโพดหั่นตามขวาง ว่ากันว่าแถบบาหลี และเกาะสุมาตราก็จะรับประทานอาหารลักษณะคล้ายกับที่ยอกยา

ชาวยอกยาเล่าว่า ร้านนี้เขาขายไก่ทอดมานานตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เริ่มจากหาบเร่ สองสามีภรรยาช่วยกันขาย จนกระทั่งมีชื่อเสียงขายจนร่ำรวย สามีก็เลยไปมีเมียน้อยแล้วออกไปเปิดร้านไก่ทอดขายแข่งกัน แต่อร่อยสู้ต้นตำรับซูฮาตีไม่ได้ ปัจจุบันไก่ทอดร้านดั้งเดิม (ที่สามีหนีไป) เปิด 7 สาขา รวมสาขาที่บาหลี และจาการ์ตาด้วย

มาถึงอินโดนีเซีย ไม่ต้องอธิบายเรื่องอาหารให้มากความ เพราะเราจะเอ่ยถึงการกินเป็นอันดับแรก (เพราะเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่) แต่สาเหตุของการมาเที่ยวอินโดนีเซียครั้งนี้ มาตามคำเชิญของสายการบินไทย พาบินสู่ บุโรพุทโธ พุทธศาสนสถานยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยบัตรไทยแวลู พลัส สัมผัสดินแดนอารยธรรมแห่งพุทธศาสนา เพราะหลังจากที่สายการบินดังกล่าว ได้เปิดโครงการสัมผัสเส้นทางแห่งศรัทธา ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ล่าสุดก็เลยออกบัตร ไทย แวลู พลัส เป็นบัตรโดยสารแบบพรีเพด ในชั้นประหยัดราคาพิเศษ สามารถเลือกเดินทางได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 สู่พุทธศาสนสถานในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน พม่า อินโดนีเซีย ศรีลังกา เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย และเนปาล อยากไปนมัสการศาสนสถานที่ไหน ไปก่อนจ่ายทีหลังก็ได้ อย่างนี้ดีแน่...

แล้วหากอยากบินไปชมบุโรพุทโธ อันยิ่งใหญ่ ต้องบินไปกับเจ้าจำปี แล้วลงที่สนามบิน Soekarno Hatta เมืองจาการ์ตา แล้วต่อเครื่องบินในประเทศ เพื่อไปลงที่สนามบิน Adi Sucipto Yogyakarta ใช้เวลาบินเพียงชั่วโมงเศษ โดยใช้บริการของสายการบินพันธมิตร ‘การ์ลูดาแอร์’

มาถึงเมืองยอกยาการ์ตา พวกเราก็แวะไปรายงานตัวที่ ฮินดูพรัมบานัน (Prambanan Tample) วัดฮินดูที่สวยงามตระการตา เชื่อกันว่าสร้างโดยกษัตริย์บาลิตุงมหาซัมบู กลางศตวรรษที่ 9 บนเชิงเทินของวัดตกแต่งด้วยรูปปั้นนูนต่ำ แสดงเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ ช่างดูงดงามและยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะไปชม 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ชื่อเต็ม ๆ ว่า มหาสถูปบุโรพุทโธ หนึ่งในศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ในเอเชีย สร้างโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบพุทธมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือพุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวา ใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร แล้วแวะไปยล จันทิเซวู เป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของราชวงศ์ไศเลนทร์ สร้างรุ่นเดียวกันกับบุโรพุทโธ ก่อนพรัมบานัน 50-100 ปี

บุโรพุทโธ สร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุต บนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงพีระมิด ลดหลั่นกัน 8 ชั้น โดย 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบน เป็นลานวงกลม บนลานวงกลมชั้นสูงสุดมีสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป บุโรพุทโธ เสมือนเป็นการจำลองจักรวาลในพุทธศาสนา ที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรม สถานที่แห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2534 โดยยูเนสโก

มีเรื่องราวของนิทานชาดก และพุทธประวัติเล่าไว้อย่างละเอียดในศาสนสถานแห่งนี้ เป็นหินแกะสลักฝีมือประณีตสวยงาม โดยมี อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ไกด์กิตติมศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ร่วมเดินทางไปให้ความรู้ อาจารย์เผ่าทอง เล่าว่า บุโรพุทโธสร้างจากพลังศรัทธา

“คนพยายามทำลายบุโรพุทโธด้วยระเบิด อีกยังเจอภูเขาไฟระเบิดหลายครั้ง ก็ยังอยู่ ถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ถึงแม้วันนี้จะเปลี่ยนไปอยู่ในมือของผู้ดูแลที่นับถือศาสนาอื่น แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงอยู่ ชาวพุทธทั่วทุกมุมโลกก็ยังเดินทางมาที่นี่ มาสวดมนต์ พวกเรามาถึงก็ยกมือไหว้ ก่อนกลับก็ยกมือลา”

คณะเราถือว่าโชคดีมีโอกาสได้พบกับ เอกอัครราชทูตไทยประจำอินโดนีเซีย คุณอัครสิทธิ์ อมาตยกุล ท่านเล่าว่า คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมสายกลาง และยังมีอิทธิพลของฮินดู และพุทธมาก่อน พวกเขามีความเคารพในศาสนาอื่น ชาวชวานั้นมีนิสัยคล้ายคนไทยมาก เจอกันก็ยกมือไหว้ พวกเขามีสโลแกนว่า ‘Unity in Diversity’ ความเอกภาพบนความหลากหลาย

ประเทศอินโดนีเซียเป็น สาธารณะรัฐ ไม่ใช่รัฐของมุสลิม มีเผ่าพันธุ์ภาษามากกว่า 500 กลุ่ม มีเกาะอยู่กว่า 17,000 เกาะ แต่คนอาศัยอยู่ 6,000 เกาะ มีประชากร 230 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของประชากรอยู่ที่เกาะชวา ถือว่าหนาแน่นที่สุดในโลกเมื่อเทียบเป็นตารางกิโลเมตร ส่วนเรื่องของอาหาร นับว่ามีความแตกต่างกันมาก เช่นอาหารซุนดา อาหารชวา อาหารปะดัง อาหารบาหลี แต่เขากินข้าวเป็นหลักเหมือนบ้านเรา ภาษาชวาก็มีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤต เขาเรียกสังขยา ว่า สีขยา เขาเรียกกุญแจว่า กุญพี อีกอย่างเราและอินโดนีเซีย เป็น 2 ประเทศในโลกที่ใช้ตราครุฑ นับว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันหลายอย่าง”

คุณสุวรรธนะ สีบุญเรือง ผู้จัดการทั่วไป บ. การบินไทย ประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซีย บอกว่าเสน่ห์ของอินโดนีเซียอยู่ที่ความหลากหลายของเชื้อชาติ วัฒนธรรม แต่สามารถรวมกันเป็นหนึ่ง ที่นี่การเมืองสงบนิ่ง ผู้คนมีนิสัยประนีประนอมสูง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และชาวอินโดนีเซียมีความศรัทธาในศาสนาสูง

นอกจากบุโรพุทโธ แล้วเรายังได้แวะไปเยี่ยมชม เมนดุต ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างครอบศาสนสถานที่ก่อด้วยอิฐ ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่กว่าคนจริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทวางฝ่าพระบาทบนดอกบัว แสดงปางปฐมเทศนาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก นับว่าแปลกเนื่องจากพระพุทธรูปในจันทิอื่น ๆ ล้วนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

จันทิปะวน เป็นโบราณสถานกลุ่มเดียวกันกับบุโรพุทโธ ตั้งห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1.75 กิโลเมตร เป็นศาสนสถานขนาดเล็ก สร้างด้วยหินภูเขาไฟ หันหน้าสู่บุโรพุทโธ

มาคราวนี้นอกจากจะได้เที่ยววัดแล้วเรายังได้ชมวังอีกด้วย นั่นก็คือ วังสุลต่านยอกยา ที่สร้างในสมัย ค.ศ. 1755 โดยศรีสุลต่านหะเมงกุบูโวโนที่ 1 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ของไทยเรา) พื้นที่ของวังทั้งหมดมี 14 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่เป็น 7 เขต เราได้เข้าไปเยี่ยมชม ท้องพระโรง ที่ปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงวงดนตรีกำมะลัน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีทองเหลือง มีการซ้อมรำเวลาเที่ยงของทุกวันให้ชมฟรี

จากนั้นได้เข้าไปเยี่ยมชมห้องต่าง ๆ ที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ รวมทั้งตราประจำราชวงศ์ฮาเมงกูบูโวโน มีมงกุฎอยู่ข้างบน ลักษณะเหมือนใบหูของค้างคาว เมื่อเห็นสถาปัตยกรรมรวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วทำให้รู้ว่า ที่นี่ได้รับอิทธิพลจากจีนอยู่ไม่น้อย เพราะเกาะชวา และบาหลี มีสัมพันธ์กับจีนมานับ 1,000 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 700-800 เป็นต้นมา หากชาวจีนและอินเดีย จะเดินทางไปยุโรป ต้องผ่านเกาะสุมาตราแห่งนี้ นับเป็นแหล่งเสบียงอาหารอีกด้วย และจีนถือว่าค้างคาวเป็นสัญลักษณ์ของนักปราชญ์ เนื่องจากค้างคาวหากินในที่สูง และนอนในที่สูง เวลาตายก็จะแขวนตัวตายแห้งบนกิ่งไม้ ลักษณะของปีกก็หมายถึงอำนาจ

รัชกาลที่ 5 ของไทยเราเคยเสด็จพระราชดำเนินไปที่วังของกษัตริย์ยอกยา พระองค์ได้รับแรงบันดาลใจจาก กาเซโบ (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่าศาลา โถง หรือกระโจม) ที่สร้างอยู่กลางสวน เป็นกระโจม 8 เหลี่ยม ตอนนั้นกษัตริย์แห่งยอกยานำวงออร์เคสตรา มาแสดงอยู่ในกาเซโบในงานเลี้ยงรับรองของพระองค์ เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เสด็จกลับเมืองไทย จึงทรงกลับมาสร้างกาเซโบไว้ในพระราชวังในเมืองไทยด้วย

สิ่งที่น่าประทับใจอีกอย่างคือ นั่งรถม้าชมหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ Candirejo Village ชมวิถีชีวิตเรียบง่าย แล้วรับประทานอาหารอินโดนีเซียแบบโฮมเมด เป็นอาหารพื้นเมืองมื้อที่น่าประทับใจ เราได้พบน้ำพริก ซัมบาล แสนอร่อยที่นี่อีกครั้ง และมีเมนูแปลกแต่อร่อยคือ ยอดใบมันสำปะหลังผัด นอกนั้นเป็นเมนูธรรมดา แต่ว่าอร่อยถูกปากเช่นกันนั่นคือ ไก่ทอด และปลานิลทอด เรียกได้ว่าสัมผัสธรรมชาติแห่งยอกยาการ์ตาอย่างแท้จริง

ก่อนดินเนอร์ปิดท้าย ชาวคณะรับเลี้ยงอำลากันด้วยการแสดง Ramayana Ballet Prambrnan ศิลปะการร่ายรำเก่าแก่ดั้งเดิม เปิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1961 ชมการแสดงนาฏลีลา ‘รามายณะ’ ฉบับอินโดนีเซีย นับเป็นเรื่องราวสุดโรแมนติก แล้วกลับหลับฝันดี...

ก่อนวันรุ่งของพรุ่งนี้ ที่เราตื่นเช้าขึ้นมาบอกลา ภูเขาไฟ Kaliadem-Merapi ที่อุตส่าห์ปรากฏกายให้เห็นเป็นวันสุดท้ายก่อนจากกัน เรียกได้ว่าเยือนแดนอิเหนาครั้งแรกก็ตกหลุมรักเข้าให้เต็มเปา !!

ขอบ คุณบทความจาก:http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/travel /20091216/90514/เสน่หายาใจ...-ยอกยาการ์ตา.html วันที่:05/06/2010

ประชุมประจำปีที่จาการ์ตา

ขออภัย! บล็อกนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง

งานสัมภาษณ์นักศึกษา KNB สถานีวิทยุ RRI

. นักศึกษา Beasiswa Kemitraan Negara Berkembang (KNB)จาก มหาวิทยาลัยอัจมาจายา(Universitas Atma Jaya Yogyakarta)ได้รับเกียรติเข้าร่วมสัมภาษณ์สดผ่านทางสถานีวิทยุคลื่น RRI โดยมีนักศึกษาจากประเทศอื่นๆ ร่วมด้วย อาิทิเช่น มาดากัสกา, กัมพูชา เป็นต้น โดยในครั้งนี้นักศึกษาไทยที่ได้รับการเข้าร่วมมีจำนวน 2 คนได้แก่ นายอภิรัช แทนโชติ(KNB'2008) และนายเมธาวัตร ภูธรภักดี(KNB'2009) มาเป็นตัวแทนประเทศไทยในครั้งนี้มาก่อนพร้อมก่อน งานนี้มดดำต้องหลีก กฤษต้องถอย เพราะเราจะเริ่มรายการ แหลแต่เช้า ฮาฮาฮา!!!!

กล้องพร้อม....! ไมค์พร้อม....! แสงพร้อม....! นักแสดงพร้อม....! เริ่ม!!!!!

ถ่ายรูปเพื่อนยืนยันว่า มาจริงๆ นะ

เก็บให้หมดนอกอาคารก็อย่าให้เหลือเล็ดลอดมุมกล้อง